1.เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการแทนค่าจำนวน
วิธีดำเนินการวิจัย
1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
2.หาประสิทธิภาพเกมการศึกษา
3.ทกลองใช้เกมการศึกษา
4.การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขเกมการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- แบบสัมภาษณ์ความต้องการ
- แบบสอบถามความต้องการ
- แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
- แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน
- แบบทดสอบถามวัดความพร้อมก่อนเรียน หลังเรียน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ เกมการศึกษา
ตัวแปรตาม ได้แก่ ความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการแทนค่าจำนวนนับ 1 - 10 และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อดกมการศึกษา
ระยะเวลา
ผู้วิจัยได้กำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองใช้เกมการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแทนค่าจำนวนนับ 1 -10 สำหรับเด็กปฐมวัย ( อนุบาลปีที่ 3 ) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 เป็นเวลา 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 8 คาบ คาบละ 15 นาที จำนวน 24 คาบ
ผลการวิจัย
1.นักเรียนและทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนาเกมการศึกษา โดยให้มีรูปแบบที่เหมาะสม วิธีการเล่นให้มีหลากหลายวิธี เวลาในการปฏิบัติกิจกรรม ที่นำมาพัฒนาเกมการศึกษาและเกมการศึกษายังสอดคล้องกับหน่วยการเรียนการสอนหลักสูตร โดยเรียนรู้จากกการปฏิบัติ โดยเรื่องที่นำมาพัฒนาเกมการศึกษามีเนื้อหาจากความต้องการและความสนใจของนักเรียนเป็นสำคัญ ควจจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนโดยยึดนักเรียนเป็นสำคัญและความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.ผลการทดลองใช้เกมการศึกษาเรื่องการแทนค่าจำนวน 1 - 10 สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู่ทดลองจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษา ประกอบการสอนด้วยตนเองกับนักเรียนชั้นนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลวัดดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 25 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 เริ่มการทดลองตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 เรวมเวลา 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 8 คาบ รวม 24 คาบ (คาบละ 15 นาที ) พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ให้วามสนใจ กระตือรือร้น ต้องการเรียนเกมการศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยให้ความร่วมมือและตั้งใจฏิบัติกิจกรรม ทั้งในห้องเรียนนอกห้องเรียนซึ่งมีทั้งปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น