หน้าเว็บ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพุธ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560

ความรู้ที่ได้รับ

ความรู้เชิงคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับความรู้ 4 ประเภท

- ความรู้ทางกายภาพ (Physical knowledge)
      เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ด้วยการรับรู้จากการสัมผัสทั้ง 5 เช่น สี รูปร่างลักษณะ ขนาด

- ความรู้ทางสังคม (social knowledge)
      เป็นความรู้ที่ได้รับจากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้ เช่น
    + หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน
    + หนึ่งเดือนมี 28 29 30 หรือ 31 วัน
    + หนึ่งปีมี 12 เดือน
        (จากการกำหนดโดยทั่วโลก)

- ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์ (Logical- mathematic knowledge)
       การเข้าใจความสำพันธื์ระหว่างสิ่งต่างๆ จากการสังเกต สำรวจ และทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆ เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงของสิ่งเหล่านั้น เช่น การนับจำนวนสิ่งของ

- ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbonic  Knowledge)
       เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้น และสามารถสร้างเป็นความรู้เชิง ตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างชัดเจนจนสามารถนำสิ่งอื่นหรือสัญลักษณืมาแทนได้ เช่น เมื่อนับจำนวนผลไม้ 9 ผลในตระกร้า แล้ววาดภาพวงกลมให้เท่ากับจำนวนผลไม้ โดยเขัยนตัวเลข 9 แทนจำนวนผลไม้ทั้งหมด

        มาตรฐานเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำที่สามารถทำให้สูงขึ้นได้

สาระและมาตรฐานการรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
- มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหมลากหลายการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตประจำวันในชีวิตจริง  จำนวน - ปริมาณ ตัวเลขเป็นตัวกำกับ
จำนวน
- การใ้ช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
  การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
- การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่ีผลรวมไม่เกิน 10 
- ความหมายของการแยก
- การแยยกกลุ่มออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10 

สาระที่ 2 :การวัด (ต้องมีเครื่องมือ) มีหน่วย
- มาตรฐาน ค.ป.2.1.เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน(วางจุดเริ่มต้นร่วมกัน)
 และเวลา
ความยาว น้ำหนัก และปริมาณ
- การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
- การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
- การเปรียเทียบปริมาณ / การตวง
เงิน
- ชนิดและค่าของเงิน เหรัยญและธนบัตร
เวลา
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้เกี่ยวกับวัน
- เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

เพลงซ้าย-ขวา
      ยืนให้ตัวตรง        ก้มหัวลงตบมือแผละ

       แขนซ้ายอยู่ไหน   หันตัวไปทางนั้นแหละ


เพลงนกกระจิบ
นั่นนก                 บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ          1  2  3  4  5
อีกฝูงบินล่องลอยมา  6  7  8  9  10  ตัว



การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

- จำนวนสะท้อนค่าปริมาณ จัดหมวดหมู่ จัดกลุ่ม
- เปรียบเทียบคนที่มา ไม่มา
- จำนวน ------- > ปริมาณ
- เปรียบเทียบ
- จัดกลุ่ม
- เรียงลำดับ ---- > ซ้ายไปขวา บนลงล่าง
- นับและบอกจำนวน
- ตามด้วยเลขฮินดูอารบิก

คำตอบของคณิตศาสตร์อาจจะไม่ได้มีคำตอบเดียว
จำนวนเต็มสามารถแยกได้

ประเมิน

อาจารย์ : ตั้งใจสอนนักศึกษาเป็นอย่างมาก ถึงแม้อาจมีน่าเบื่อบ้างแต่อาจารย์จะหาเพลงมาให้ร้องเพลง
ตนเอง : พยายามทำให้ตนเองไม่ง่วง พอหายง่วงก็ตั้งใจเรียนเต็มที่
เพื่อน : ทุกคนตั้งใจเรียนพยายามตอบคำถามของอาจารย์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น